Brahms อยู่ในกลุ่มคีตกวีโรแมนติคตอนปลาย มีผู้ให้นิยามลักษณะดนตรีของเขาว่า economy and riches Brahms มีการใช้ harmony ที่หลากหลายและลุ่มลึก เป็นความเศร้ามืดทึมที่บดบังความปิติยินดี เป็นความอ่อนหวานที่มีเหตุผลและต้องทำความเข้าใจ
Brahms เริ่มชีวิตนักแต่งเพลงด้วยการประพันธ์เพลงเปียโน ซึ่งผลงานทางด้านนี้ไม่ยิ่งใหญ่เท่าทางด้านเพลงร้อง (vocal) และมีปริมาณไม่มากเมือเทียบกับบทเพลงเปียโนของ Beethoven หรือ Chopin แต่กินเวลาทำงานทั้งชีวิตของเขา
เมื่อสังเกตผลงานของ Brahms จะเห็นความจัดเจนของเทคนิคในการประพันธ์ โดยกรรมวิธีที่เขาชอบใช้ การแปรทำนอง และการนำทำนองกลับมาอีก (recapitulation) สร้างจากจินตนาการที่เป็นเลิศ เขาชอบใช้ double counterpoint หรือลักษณะของ voice exchange และมักจะใช้ inversion กับแนวทำนอง (ลักษณะที่เคลื่อนไปในทิศทางตรงข้ามจากศูนย์กลาง) รูปแบบ polyphonic จากงานของ Bach ส่งอิทธิพลต่อ Brahms
ในเรื่องของรูปแบบแนวทำนองบางทำนองมีโน้ตเล่นต่อกันคล้ายทำนอง gregorian chant และอิทธิพลของบาคผลักดันให้เขาคิดรูปแบบใหม่ของการเล่นในลักษณะที่เป็น voice-leading อิสระ ซึ่งต่างไปจากวิถีอันหลากรูปแบบของ Chopin และ Liszt มันเป็นการสื่อทางความคิดให้เสียงดนตรีที่แสดงออกมาไม่เป็น idiom (ไวยากรณ์ของประโยค) เท่าไหร่ ทำให้เพลงของเขาถูกวิจารณ์ว่า unpianistic และดูเหมือนว่าเพลงของเขาไม่ต้องใช้พื้นฐานในการไล่ไปตาม scales มากนัก
มีการใช้เทคนิคใหม่ๆ เต็มไปด้วยการกระโดด, open position, polyrhythm, double-note passage, blind-octave, double trills การยืดหยุ่นของจังหวะเมื่อมี grace note และ Arpeggio ทั้งท่อนแขน มือและนิ้ว ต้องใช้วิธีใหม่ๆในการปฏิบัติ Brahms ยอมรับว่าหลายๆประโยค (passage) ในเพลงของเขาเล่นไม่สะดวกสบายมือ เทคนิคใหม่ๆดูตอนแรกไม่น่าจะสะดวกและคล่องเป็นสัญชาตญาณได้ สำนวนเพลงใหม่ต้องการอิสระในการเคลื่อนไหวของมือ กำลังนิ้วและอิสระต่อกันระหว่างนิ้วมากขึ้นจากยุค Mozart และ Beethoven
ในช่วงหลังของชีวิต Brahms ประพันธ์ผลงานเปียโนสั้นๆไว้หลายชุด
มีรูปแบบและสไตล์เป็นของตนเอง มากกว่าครึ่งเป็นลักษณะของโคลงกลอนแห่งดนตรีที่ไม่มีถ้อยคำ
อันเป็นลักษณะเด่นของงานเปียนโนขนาดสั้นและขนาดกลางในยุคโรแมนติคตอนปลาย รูปแบบของผลงานเดี่ยวเปียโนในยุคนี้นอกจาก
form ขนาดใหญ่อย่างเช่น sonata รวมถึงรูปแบบที่ถูกขยายสร้างสรรค์ขึ้นให้มีขนาดใหญ่ชนิดอื่นๆ
ผลงานขนาดกลางและเล็กที่เขาได้ประพันธ์ไว้มีหลากหลาย ภายใต้ชื่อกำหนดบอกคุณสมบัติลีลาลักษณะ
ไม่ว่าจะเป็น Impromptus, ballade, romanzes, rhapsodie, capriccio, intermezzo
เส้นแบ่งขอบเขตความแตกต่างของ form แต่ละประเภทยืดหยุ่นได้มาก แต่เทคนิคระดับสูงของเปียโนจะปรากฏอยู่ในผลงานประเภท
variation เสียมาก
ผลงานของ Brahms นอกจาก scherzo และ romance อย่างละเพลงเดียวแล้ว ที่เหลือสามารถจัดเข้ากลุ่มของ
ballade, rhapsodie, capriccio และ intermezzo
ในบทเพลงประเภท Capriccio ของเขานับเป็น รูปแบบที่เน้นอารมณ์รื่นเริงและความเพลิดเพลินอันหลากหลาย
เช่น vivacious (คล่องแคล่ว), energetic (เคลื่อนไหวมีพลัง), passionate(อย่างเสน่หา)
มีการใช้ความดังเบา (dynamic) อย่างกว้างขวาง ลักษณะลีลาจังหวะมีความน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น
accent บนจังหวะยก, syncopation(จังหวะขัด), hemiola (กระสวนจังหวะชั่วคราว)
Brahms มีความหลงใหลใน Capriccioและ intermezzo อย่างมาก
ซึ่งรูปแบบทั้งคู่มีความแตกต่างกันอยู่มาก ในเรื่องจังหวะ การตีความ ทิศทาง
และบุคลิก (character) ทางดนตรี
ดนตรีของ Brahms จะสื่อถึงบุคลิกของคนที่ชอบครุ่นคิดเรื่องภายในใจของตนจะเห็นได้จากบทเพลง
Ballade เมื่อเปรียบเทียบกับของ Chopin ซึ่ง Ballade ของ Brahms จะโศกสลดเชื่องช้า
ส่วนของ Chopin ดนตรีจะมุ่งเข้าหาและโอบล้อมคนฟัง
มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ Ballade และ Rhapsody เป็น form
ที่เกิดขึ้นในเวลาอันประจวบเหมาะใกล้ๆกัน ซึ่ง Brahms มีบทบาทในการพัฒนา
form นี้ตั้งแต่ช่วงต้นๆของยุคโรแมนติค และถูกใช้อ้างกล่าวเทียบกับผลงานที่ไม่สามารถจัดประเภทได้ว่าอยู่ในรูปแบบโดยคร่าวๆระหว่างลักษณะการผูกสำนวนแบบ
Sonata หรือ Overture
สำหรับ Rhapsody Brahmsได้ใช้คำนี้ในงานเพลงร้องชื่อ Alto Rhapsody เป็นครั้งแรกจากนั้นใช้กับผลงาน
Piano duet และก่อนที่จะมาถึงผลงาน Rhapsody จริงๆเขาก็ได้ประพันธ์ Capriccio และ
Intermezzo อย่างละ 4 บท (Eight Piano Pieces Op.76) ตอนที่เขาส่งโน้ตไปให้สำนักพิมพ์นั้นเขายังไม่มีความคิดว่าจะใช้ชื่อกำกับหัวกระดาษอย่างไร
เลยได้รับคำตอบว่า 4 เพลงหลังควรจะให้ชื่อว่า Capriccio เพราะลักษณะของเพลงที่สนุกสนานเป็นประกาย
ส่วนอีก 4 เพลงใช้คำว่า Intermezzo ซึ่งเป็นการครอบคลุมกว้างๆ แสดงถึงกลุ่มผลงานที่ไม่ใช้อารมณ์แล่นไปตามอำเภอใจในชั่วขณะ
(capricious) และไม่ใช่ทั้งอารมณ์อันเต็มไปด้วยความรู้สึกหลงใหลอย่างดูดดื่ม (passionate)
หากแต่ Intermezzo นั้นสื่อถึงอารมณ์ที่อ่อนโยนและสงบนิ่ง (tender and tranquil)
สำหรับผลงานใน Op.76 ตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบคือ Intermezzo No.3 และ 4
ความตั้งใจแรกนั้น Brahms ต้องการให้ชื่อผลงาน B minor Rhapsody ให้เป็น Capriccio ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหละหลวมของการจัดประเภท ยังไงก็ดี Rhapsody ทั้ง 2 บทนี้สะท้อนอารมณ์ตื่นเต้นและซาบซึ้ง ซึ่งถูกกำกับไว้ด้วยคำว่า agitato และ passionato ซึ่งเขามักใช้กำกับใน Capriccio เสมอ เมื่อตรวจสอบดู Rhapsody ของเขาเทียบกับ Capriccio ต่างก็ยึดอยู่กับ Sonata form พอประมาณ คือ ประโยคเพลงกลุ่มที่ 2 ตั้งอยู่ใน dominant และส่วนของการย้อนกลับมาใหม่ (recapitulation) ตั้งอยู่บน tonic แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือมันต่างมี middle section ที่เต็มไปด้วยการพัฒนาประโยคเพลง
ดูเหมือนว่า Brahms จะไม่ให้ความสนใจกับ
Sonata form ไปไกลกว่าเป็น concept ที่ยกชื่ออ้างไว้เฉยๆ ซึ่งเขาใช้มันเป็นรากฐานในการประพันธ์
Ballade, Intermezzo, Fantasia (ท่อน 4 ของ f minor sonata ก็ถูกตั้งชื่อให้เป็น
intermezzo) เราจะเห็นว่า Brahms มีแนวโน้มจะขยับมาทาง form ที่เป็นอิสระมากกว่า
มีช่วงเวลายาวนานถึง 7 ปีในชีวิตที่ Brahms ประพันธ์แต่งาน
vocal work และมีช่วง 15 ปีที่แทบไม่ได้มีผลงานบรรเลงเปียโนออกมาเลย (เพียงแต่ขึ้นโครงร่างไว้คร่าวๆ)
Brahms ประพันธ์ Intermezzo 19 บท, Capriccio 7 บท, Rhapsody 3 บท, Ballade 4 บท,
Scherzo 1 บท, Romance 1 บท
ผลงานขนาดกลางและขนาดเล็กทั้งหมดกระจายกันอยู่จัดได้เป็นกลุ่มๆดังนี้
- Ballades Op.10
- Eight Pieces Op. 76
- 2 Rhapsodies Op.79
- Fantasies Op.116
- 3 Intermezzo Op.117
- Six Pieces (Klavierstucke) Op.118
- Four Pieces (Klavierstucke) Op.119
ประวัติของ Johannes Brahms (1833-1897)
Brahms เกิดที่ Hambugh เมื่อเขาอายุเพียง 11 ปีก็แสดงความสามารถทางการเปียโนจนมีผู้เสนอให้ท่องเที่ยวและแสดงในอเมริกาแต่อาจารย์ของเขาได้ระงับไว้เพราะสังเกตเห็นความกระหายที่จะประพันธ์เพลง
Brahms จึงได้รับการสอนทฤษฎีดนตรี เขาได้มีโอกาสเรียบเรียงเพลงให้วง ensemble ขนาดเล็ก
เมื่อเขาอายุได้ 15 ปีก็แสดงเดี่ยวเปียโนเป็นครั้งแรกในช่วงนี้เขาศึกษางานของ Bach
และ Beethoven เป็นหลัก และงานร่วมสมัยอย่างของ Thalberg และ Herz
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ประเทศออสเตรียและรัสเซียได้มีการปราบจลาจลของพวกฮังกาเรียน
Brahms ได้มีโอกาสรู้จักแนวดนตรีที่เรียกว่า Csardaz และ alla zingarese style
ซึ่งเป็น Hungarian folk music ที่นำเขาไปสู่โลกอันแปลกใหม่ของระบบจังหวะที่ไม่ปกติและการใช้โน้ต
triplet เขายังได้ฝึกการเล่น Ensemble เป็นลีลา rubato กับนักไวโอลินชาวฮังกาเรียน
ต่อมาเขาได้เดินทางไปที่ Hanover พบกับ Joseph Joachim จากนั้นไปที่ Weimar พบกับ
Liszt และพบว่าโลกทัศน์ทางดนตรีของเขาอยู่คนละมุมกับ Liszt และกลุ่มของ New German
School ซึ่งเต็มไปด้วยการต่อสู้และโลดโผน จากนั้นเขาได้ไปยัง Dusseldorf พบกับ
Robert และ Clara Schumann ผู้ชื่นชมฝีมือการแต่งเพลงและเล่นเปียโนของเขา
Brahms ได้ไปยัง Detmold และใช้ทำงานเป็น court pianist, chamber musician และ
conductor ซึ่งเขาหาโอกาสคุมวงดนตรีขนาด 45 คนอยู่หลายครั้ง เป็นที่ที่เขาได้เรียนความรู้และเทคนิคเบื้องต้นของวง
orchestra (แสดงออกในผลงาน Orchestra Serenade Op.11 และ 16)
เมื่อ Brahms อายุ 29 ปี (1862) ก็จากบ้านเกิดไปตั้งรกรากใน
Vienna ปีต่อมาก็ได้ยุ่งอยู่กับงาน a cappella ของนักร้องประสานเสียงหญิง
ช่วงที่เขาอยู่ที่ Vienna ได้รับตำแหน่งผู้กำกับวงดนตรีของ Singakademie หลังจากที่ผิดหวังจากตำแหน่งผู้อำนวยการวง
Hamburg Philharmonic Orchestra มา หน้าที่การงานของเขาถูกขัดจังหวะด้วยการต้องออกเดินทางไปแสดง
Concert ตามเมืองสำคัญในฮังการี สวิสเซอร์แลนด์, เดนมาร์ก, เนเธอร์แลนด์ จนกระทั่งเขาอายุ
35 ก็ปักหลักอยู่ที่ Vienna ถาวร เมื่อเขาอายุ 39 ปีก็มารับตำแหน่งผู้อำนวยการดนตรีของ
Gesellschaft der Musik สืบต่อจาก Rubinstein
เมื่อ Brahms อายุ 40 ปี (1873) ถึงจะเริ่มแต่งเพลงสำหรับ
orchestra จริงจังเป็นเพลงแรกคือ Variation on a Theme of Haydn และ 3 ปีต่อมา
Symphony No.1 ก็สำเร็จออกมาซึ่งถือว่าเป็นผลงานชั้นนำที่ตามหลัง Beethoven มา
(แต่ผลงานที่ซับซ้อนและคุณภาพสูงคือ Symphony No.4) จากความสามารถของเขานี้เอง
มหาวิทยาลัย Cambridge จึงได้เสนอมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แต่เขาปฏิเสธ
ปีที่ Brahms อายุ 46 ปีมหาวิทยาลัย Breslau ได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาปรัชญา
ในโอกาสนี้ Brahms ได้แต่ง Academic Overture โดยอาศัยเค้าโครงเพลงของนักศึกษาเยอรมันในมหาวิทยาลัยนั้น
และอีกเพลงคือ Tragic Overture
เขาได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Order of Leopold จากจักรพรรดิ
Francis Joseph ที่ 1 แห่งออสเตรีย เมื่อตอนอายุ 56 (1889) 4 ปีต่อไปเขาได้ท่องเที่ยวไปๆมาๆระหว่างอิตาลี,
เยอรมัน Ischl และสวิสเซอร์แลนด์ จากนั้นปี 1896 Brahms ก็ได้เข้าร่วมในพิธีฝังศพของ
Clara Schumann ปี
ต่อมาเขาก็ป่วยด้วยโรคมะเร็งในตับ 8 เดือนหลังตรวจพบ Brahms ก็ถึงแก่มรณกรรม เมื่ออายุ
64 ปี ศพของเขาฝังไว้สุสาน Central Cemetery ที่ Vienna เคียงข้าง Schubert